หน้าแรก

เฉลยข้อสอบอัตนัย

ข้อสอบอัตนัย

1. ตอนปลายของเหตุการณ์ในสมัยกรุงธนบุรีเกิดอะไรขึ้นกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช   ทรงมีสติฟั่นเฟือน   ทรงเข้าพระทัยว่า  ทรงบรรลุโสดาบัน  และให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์  บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย

2.  เหตุใดจึงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

พื้นที่กว้างขว้างขยายเมืองง่าย

มีแม่น้ำเป็นคูเมือง

ความไม่เหมาะสมในด้านที่ตั้งของกรุงธนบุรี

3. ประเทศไทยในปี   พ.ศ.  2313 มีความสัมพันธ์กับประเทศในชาติตะวันตกใด

ฮอลันดา   เนื่องจากพวกฮอลันดาที่เมืองปัตตาเวียและพวกเมืองแขกเมืองตังกานูได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระจ้าตากสิน  เพื่อถวายปืนคาบศิลา  จำนวน  2200   กระบอกและถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง

4.   เมืองประเทศราช   คืออะไร

หัวเมืองที่อยู่ไกลออกไป   เป็นเมืองของชนต่างชาติต่างภาษา   มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง  แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด   และส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีสงคราม  เช่น  ล้านนา   ลาว   เขมร

5.  การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่   2   เกิดจาก

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง หรือ สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สอง ระหว่างราชวงศ์อลองพญาแห่งพม่า กับราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งสยามในสมัยอาณาจักรอยุธยา ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีสยามยาวนานเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศแห่งอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่า

6. สังคมมนุษย์ยุคเก่า  คือ

คนในยุคหินเก่าดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเสาะแสวงหาพืชผักผลไม้กินเป็นอาหารมีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมอย่างเต็มที่ กล่าวคือ เมื่อฝูงสัตว์ที่ล่าเป็นอาหารหมดลงก็ต้องอพยพย้ายถิ่นติดตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย ๆ การที่มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่เพราะต้องล่าสัตว์ดังกล่าว อาจทำให้คนต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคไปในตัวด้วย เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของคนในยุคหินเก่าต้องอยู่ กับการแสวงหาอาหารและการป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติรวมถึงการต่อสู้ในหมู่พวกเดียวกันเพื่อ การอยู่รอด จึงทำให้ต้องพัฒนาเกี่ยวกับเครื่องมือล่าสัตว์ โดยการพัฒนาอาวุธที่ทำด้วยหินสำหรับตัด ขูดหรือ สับ เช่น หอก มีด และเข็ม เป็นต้น

ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมพบว่า คนในยุคหินเก่าเริ่มอยู่กันเป็นครอบครัว แล้ว แต่ยังไม่มีการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนอย่างแท้จริง เพราะวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนไม่เอื้ออำนวยให้มีการตั้งหลักแหล่งถาวรขณะเดียวกันองค์กรทางการเมืองการปกครองก็ยังไม่เกิดขึ้น สังคมจึงมีสภาพเป็นอนาธิปัตยคือไม่มีผู้เป็นใหญ่แน่นอน ผู้ที่มีอำนาจมักเป็นผู้ที่มีความแข็งแรงเหนือผู้อื่น

นอกจากนี้ยังพบว่า คนในยุคนี้เริ่มรู้จักแสดงความรู้สึกออกมาในรูปของศิลปะบ้างแล้ว ศิลปะที่สำคัญ ได้แก่ รูปเขียนกระทิงเรียงกันเป็นขบวน ขุดค้นพบภายในถ้ำอัลตะมิระ ทางตอนใต้ของสเปนและ ภาพสัตว์ส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ที่คนสมัยนั้นล่าเป็นอาหาร มีวัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง และกวางเรนเดียร์ เป็นต้น พบที่ถ้ำสาบโก ในประเทศฝรั่งเศส ส่วนประเทศไทย พบที่ถ้ำตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี และถ้ำผีหัวโต จังหวัดกระบี่ เป็นต้น

สังคมของมนุษย์ยุคหินเก่าตอนกลาง และยุคหินเก่าตอนปลาย มีระยะเวลาที่สั้น ปรากฏอารยธรรมเกิดขึ้นในทวีปยุโรป แอฟริกาและเอเชีย สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคหินเก่าตอนกลางส่วนมากคล้ายกับยุคกินเก่าตอนต้นแต่ก็พบว่าคนยุคกินเก่าตอนกลางบางแห่งมีพัฒนาการมากขึ้น

มีการพบหลักฐานแสดงว่า คนยุคหินเก่าในช่วงปลายมีความสามารถในการจับสัตว์น้ำได้ดีและมีการคมนาคมทางน้ำเกิดขึ้นแล้ว เทคโนโลยีของยุคกินเก่าตอนปลายจะมีขนาดเล็กกว่ายุคหินเก่าตอนต้นและประโยชน์ใช้สอยดีขึ้นกว่าเดิม คนยุคหินเก่าตอนกลางจะมีวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนภูเขา ตามถ้ำ หรือเพิงผา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนพื้นราบ ริมน้ำหรือชายทะเล

7.  สงครามเย็นเกิดขึ้นได้อย่างไร

สงครามเย็น (อังกฤษ: Cold War) (พ.ศ. 24902534 หรือ ค.ศ. 19471991) เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบการเมืองต่างกัน เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายหนึ่งคือสหภาพโซเวียต เรียกว่า ค่ายตะวันออกซึ่งปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ อีกฝ่ายหนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตร เรียกว่า ค่ายตะวันตก ซึ่งปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งสองฝ่ายได้แข่งขันในด้านการสะสมอาวุธ เทคโนโลยีอวกาศ การจารกรรม เศรษฐกิจ และทำสงครามผ่านสงครามตัวแทน

8.  การปฏิบัติฝรั่งเศสปี 1789 เกิดจาก

   การปฏิวัติฝรั่งเศส ระหว่าง ค.ศ. 1789-1799 เป็นยุคสมัยแห่งกลียุค (upheaval) ทางสังคมและการเมืองที่เปลี่ยนถึงรากฐานในฝรั่งเศสซึ่งมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อฝรั่งเศสและยุโรปที่เหลือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองฝรั่งเศสมาหลายศตวรรษล่มสลายลงใน 3 ปี สังคมฝรั่งเศสผ่านการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยเอกสิทธิ์ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ของคนชั้นสูงและทางศาสนาหมดสิ้นไปภายใต้การประทุษร้ายอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง ฝูงชนบนท้องถนนและชาวนาในชนบท[1] ความคิดเก่าเกี่ยวกับประเพณีและลำดับชั้นบังคับบัญชา ของอำนาจพระมหากษัตริย์ คนชั้นสูงและศาสนา ถูกโค่นล้มอย่างฉับพลันโดยความเสมอภาค ความเป็นพลเมืองและสิทธิที่จะโอนกันมิได้ หลักการใหม่แห่งยุคเรืองปัญญา

การปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้นใน ค.ศ. 1789 ด้วยการเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ในปีแรกของการปฏิวัติ เกิดเหตุการณ์สมาชิกฐานันดรที่สามประกาศคำปฏิญาณสนามเทนนิสในเดือนมิถุนายน การทลายคุกบาสตีย์ในเดือนกรกฎาคม คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองในเดือนสิงหาคม และการเดินขบวนสู่แวร์ซายซึ่งบังคับให้ราชสำนักกลับไปยังกรุงปารีสในเดือนตุลาคม เหตุการณ์อีกไม่กี่ปีถัดมาส่วนใหญ่เป็นความตึงเครียดระหว่างสมัชชาเสรีนิยมต่าง ๆ และพระมหากษัตริย์ฝ่ายขวาแสดงเจตนาขัดขวางการปฏิรูปใหญ่

มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกประหารชีวิตในปีถัดมา ภัยคุกคามจากนอกประเทศยังมีบทบาทครอบงำในพัฒนาการของการปฏิวัติ สงครามปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1792 และสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝรั่งเศสที่อำนวยการพิชิตคาบสมุทรอิตาลี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกของแม่น้ำไรน์ อันเป็นความสำเร็จซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสแต่ก่อนทำไม่ได้มาหลายศตวรรษ

ส่วนในประเทศ อารมณ์ของประชาชนได้เปลี่ยนการปฏิวัติถึงรากฐานอย่างสำคัญ จนลงเอยด้วยการขึ้นสู่อำนาจของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์และกลุ่มฌากอแบ็ง (Jacobins) และเผด็จการโดยแท้โดยคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะระหว่างสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ตั้งแต่ ค.ศ. 1793 ถึง 1794 ซึ่งมีผู้ถูกสังหารถึงระหว่าง 16,000 ถึง 40,000  หลังกลุ่มฌากอแบ็งเสื่อมอำนาจและรอแบ็สปีแยร์ถูกประหารชีวิต คณะไดเรกทอรี (Directory) เข้าควบคุมรัฐฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1795 และถืออำนาจถึง ค.ศ. 1799 เมื่อถูกแทนที่ด้วยคณะกงสุล(Consulate) ภายใต้นโปเลียน โบนาปาร์ต

การปฏิวัติฝรั่งเศสนำมาซึ่งยุคใหม่ของฝรั่งเศส การเติบโตของสาธารณรัฐและประชาธิปไตยเสรีนิยม การแผ่ขยายของฆราวาสนิยม การพัฒนาอุดมการณ์สมัยใหม่และการประดิษฐ์สงครามเบ็ดเสร็จ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติ เหตุการณ์สืบเนื่องซึ่งสามารถสืบยอนไปได้ถึงการปฏิวัติมีสงครามนโปเลียน การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์สองครั้งแยกกัน และการปฏิวัติอีกสองครั้ง (ค.ศ. 1830 และ 1848) ขณะที่ฝรั่งเศสสมัยใหม่ก่อร่างขึ้น

9. การเลิกทาสเกิดขึ้นในสมัยใด

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ประมาณว่าไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ[2] เพราะเหตุว่าพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป ทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะตามกฎหมายถือว่ายังมีค่าตัวอยู่

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศ “พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย” เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ[1] มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปีเป็นทาสอีก

เมื่อถึง พ.ศ. 2448 ก็ทรงออก “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124” ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไทเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2448 เป็นต้นไป[3] นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว

10.  ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใดยาวนานที่สุด อย่างไร

ใส่ความเห็น